เทรนด์ใหม่ในธุรกิจอาหาร ยุค New Normal

การระบาดของโควิด-19 ทำให้องค์กรต่าง ๆ ต้องทุ่มเทความพยายามเพื่อรักษาเสถียรภาพในสภาพแวดล้อมใหม่และวางกลยุทธ์สำหรับความเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตแบบใหม่ (new normal) ที่จะเกิดขึ้น แต่อย่างหนึ่งที่คนรุ่น Gen B รู้ดีกว่าใคร นั่นคือความจริงที่ว่า “ทุกการเปลี่ยนแปลงนำมาซึ่งโอกาส”

ในภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำเรามักจะได้เห็นบริษัทสตาร์ทอัพรายใหม่เกิดขึ้น บริษัทเหล่านี้ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เป็นช่องทางในการสร้างรายได้ หากเรามองย้อนกลับไปในอดีต หนึ่งเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ “The Great Depression” ซึ่งเป็นเหตุการณ์เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่เริ่มขึ้นในทวีปอเมริกาและยุโรป ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1929) และต่อมาได้ขยายไปยังนานาประเทศทั่วโลก ซึ่งได้ให้กำเนิดอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการเปิดตัวของกลุ่มบริษัทข้ามชาติ “เจเนอรัล อิเล็กทริก (General Electric)” และบริษัท "ฮิวเลตต์-แพคการ์ด" (Hewlett-Packard Company) หรือ “เอชพี (HP)” หลังจากนั้นโลกก็ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกครั้งในยุค “The Great Recession” หรือที่เรียกกันว่า "วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์" ซึ่งบีบให้เราต้องปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลและระบบเศรษฐกิจ "Gig Economy" ที่รองรับวิถีการทำงานอิสระของคน Gen Y ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในขณะเดียวกันก็ให้กำเนิดบริษัทต่าง ๆ บนออนไลน์แพลตฟอร์มที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่คือกลุ่ม Gen Y เช่น บริษัท Airbnb และ Uber เป็นต้น บริษัทเหล่านี้ประสบความสำเร็จเพราะพวกเขามองเห็น “ช่องว่าง” ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลง และนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่โลก ณ เวลานั้นต้องการ

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เราได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิตแบบใหม่ ประสบการณ์จากการล็อกดาวน์ การกักตุนอาหารเพื่อการกักตัวและการเว้นระยะห่างทำให้คนจำนวนมากทั่วโลกหันมาปลูกผัก ทำสวนและสั่งอาหารออนไลน์หรือเดลิเวอรี่มากขึ้นกว่า 145% ทั่วโลก และผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสนใจในคอนเซปต์ของการใช้ชีวิตแบบพอเพียง (self-sustainability) มากขึ้นเช่นกัน ทำให้หลายบริษัทในธุรกิจอาหารเริ่มมีการปรับเปลี่ยนวิธีการขนส่งอาหารและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้

เทรนด์บรรจุภัณฑ์ในยุค New Normal

การดำเนินชีวิตประจำวันของผู้บริโภคจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะกำหนดแนวโน้นในอนาคต จะมีการเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง  และบรรจุภัณฑ์เองก็จะมีผลถึง 80% ในการเลือกซื้อ

1. บรรจุภัณฑ์กินได้ (Edible Packaging)

ถ้วยกินได้จากบิสกิตห่อด้วยกระดาษที่ทำจากน้ำตาลเคลือบไวท์ช็อคโกแลต ซึ่งทนต่อความร้อนของกาแฟเอสเปรสโซได้ เป็นผลงานของบริษัท Robin Collective ผู้อยู่เบื้องหลังถ้วย “Scoff-ee” ให้กับยักษ์ใหญ่แฟรนไชส์อาหารจานด่วน KFC

 

บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากโปรตีนนมนำมาทำเป็นฟิล์มห่ออาหารที่สามารถกินได้เป็นหนึ่งนวัตกรรมที่กำลังได้รับความสนใจ

2. บรรจุภัณฑ์ที่นำมาใช้ซ้ำได้ (Refillable Packaging)

ในปี 2020 บริษัทเครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ตสัญชาติอังกฤษ ASDA ได้เริ่มใช้กลยุทธ์การลดพลาสติกแบบใหม่ด้วยบรรจุภัณฑ์แบบ refill ช่วยให้ลูกค้าจ่ายเงินน้อยลงในการซื้อสินค้าและในขณะเดียวกันมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คาดว่าซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่อื่น ๆ ในสหราชอาณาจักรจะเริ่มใช้กลยุทธ์นี้เช่นก้น

3. บรรจุภัณฑ์สร้างปฏิสัมพันธ์ (Interactive Packaging) บางคนเรียกมันว่า Smart Packaging

ที่ออกแบบได้อย่างชาญฉลาดเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดประสบการณ์ที่ดีระหว่างใช้งาน

4. บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อโลก (Eco-Packaging)

Mars Drinks ได้ออกแบบซองใหม่โดยการเลิกใช้ซองอลูมิเนียมฟอยล์ซึ่งสามารถลดคาร์บอนฟุต พริ้นท์ได้ถึง 31% และยังมีอีกหลายบริษัทที่หันมาใช้บรรจุภัณฑ์อาหารแบบยั่งยืน ด้วยการใช้ บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพ (Biodegradable) และสามารถนำมาใช้ปลูกผักสวนครัวได้ด้วย

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือการเปลี่ยนแปลงการใช้สื่อโฆษณา จากรายงานของบริษัทโฆษณาออนไลน์ Tabola ตั้งแต่ก่อนช่วงล็อกดาวน์ ชาวอเมริกันได้ใช้จ่ายไปกับอุปกรณ์เกมออนไลน์ถึง 1.597 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นจำนวนเงินรายได้ที่สูงมากนับแต่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ ทำให้อุตสาหกรรมเกมออนไลน์โตขึ้นแบบก้าวกระโดดจากวิกฤตโควิด-19 ถึง 145% ซึ่งส่งผลให้บริษัทชั้นนำเลือกที่จะลงโฆษณาออนไลน์มากขึ้น ในขณะที่การโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์จะมีให้เห็นบนบรรจุภัณฑ์ที่นำมาใช้ซ้ำได้หรือนำมาใช้เป็นอย่างอื่นได้เท่านั้น ซึ่งนอกจากช่วยลดต้นทุนค่าโฆษณาและเป็นมิตรกับสิ่งแล้วล้อมแล้ว ยังเป็นการเลือกสื่อที่เหมาะสมกับยุคสมัยอีกด้วย

POST RECENT

Spread the love